พิมพ์
หมวด: บทความอาหารปลอดภัย

ข้อกำหนดของระบบการจัดการในยุคปัจจุบัน เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องเรื่องวัฒนธรรม

ซึ่งปัจจุบันมาตรฐาน ISO 45001 และ BRC ได้มีข้อกำหนดใหม่ๆนี้แล้ว

สำหรับ ISO แล้ว แค่พูดว่าส่งเสริม สนับสนุน วัฒนธรรม ลอยๆ คงไม่พอ
ต้องมีกระบวนการในการทำให้ได้มาตามที่กล่าวจริง

 

ข้อกำหนดมักกำหนดให้ "ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้อง การพัฒนา ชี้นำ และสนับสนุนวัฒนธรรมในองค์กร" ซึ่งหมายถึง 

ต้องมีการกำหนดวัฒนธรรม( พฤติกรรม) ที่ต้องการ  +  แผนการเพื่อให้ได้วัฒนธรรมนั้นๆ 

 

ที่น่าสนใจสำหรับคนทำระบบ คือ

แล้ว ตรูต้องทำ อะไร อย่างไร (ส่วนทำไมต้องทำ ไม่ต้องถาม.... )

ที่น่าสนใจคือ ตรูในที่นี้ไม่ใช่ ผู้บริหารระดับสูง

แต่เป็นพนักงานหาเช้ากินค่ำ เป็นผู้บริหารระดับต่ำหรือปานกลางเหมือนคุณกับผม

การให้มาทำเรื่องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องเกินหน้าที่

แม้แต่การมอบงาน ให้ทำหน้าที่ปรับระบบการจัดการเพื่อสร้างวัฒนธรรม

ก็ดูเป็นการผิดที่ไว้ใจ

 

ทำไมยากจัง

เพราะไม่รู้ว่าวัฒนธรรมคืออะไร

ไม่รู้ว่ากำหนดวัฒนธรรมกันอย่างไร

จะทำให้ได้ตามวัฒนธรรมได้ด้วยวิธีใด
และไม่รู้ว่าจะใช้ระบบการจัดการเพื่อสร้างวัฒนธรรมได้อย่างไรบ้าง 

เพราะว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่ทุบโต๊ะได้ที่ต้องทำ

 

วัฒนธรรมองค์กรคืออะไร

วัฒนธรรม ไม่ใช่คำสวยๆ ปะข้างฝา ให้อ่านแล้วเดินผ่านไป

วัฒนธรรม เป็นเรื่องที่ทำให้ ทุกคนคิดคล้ายๆกัน ทำคล้ายๆกัน แต่ละคนวิธีทำที่ต่างกัน ต่างแผนกงานกัน แต่ยอมรับซึ่งกันและกัน ในการบรรลุเป้าหมายเดียวกัน 

การทำให้คนคิดคล้ายๆกัน ทำคล้ายๆกัน  ต้องทำโดยการปรับ "Mindset" คน เป็นการเปลี่ยน"วิธีคิด" ของคน

การเปลี่ยนเป็นเรื่องยาก และ นาน

วัฒนธรรมที่ชัดเจน

วัฒนธรรม เกี่ยวกับ ความเชื่อ ค่านิยม เป้าหมาย ขององค์กร

วัฒนธรรมต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจ ว่าองค์กรตนต้องการอะไร มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าระยะยาว ระยะสั้นอย่างไร

 

การที่วัฒนธรรมต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจ  จึงต้องให้คนที่ทุบโต๊ะตัดสินใจกำหนดสุดท้ายเสมอ

เพื่อให้ องค์กรมีวัฒนธรรมที่พนักงานและผู้บริหารทุกคนพร้อมใจทำตามได้จริง

จึงจำต้องกำหนด สรุป ต้องมีการสื่อสาร ให้รู้อย่างทั่วไปในองค์กร

วัฒนธรรมที่ชัดเจน จึงไม่เป็นเพียงการติดป้ายหน้าลิฟต์ แปะบอร์ด

เพื่อให้พนักงานยืนอ่านและผ่านไป

 

ระยะเวลาวัดผล

การเปลี่ยนนิสัยคนใช้เวลา

โดยทั่วไปกำหนดทบทวน 3 ปี 

ซึ่งทำให้ต้องมีการกำหนดวัฒนธรรมที่ต้องการให้เหมาะกับเป้าระยะยาวขององค์กร 

หรือหากต้องการให้มีผลระยะสั้น จำต้องเลือกกำหนดวัฒนธรรมให้เหมาะกับความต้องการขององค์กรตน

เพราะหากต้องการปรับนิสัยพนักงานในองค์กรใช้เวลาสามปี แปลว่าเป้าระยะสั้นที่กำหนดไว้ที่เป็นปีหรือสองปี อาจไม่ได้รับผล

และต้องเข้าใจว่า

สุดท้ายนิสัยคนในองค์กร อาจเปลี่ยนแปลงไม่ได้  ไปไม่ถึง

โดยการปรับนิสัยคนภายใน

ซึ่งทำให้บางครั้ง การเปลี่ยนวัฒนธรรมคือการล้างบาง เจือจางคนเก่าด้วยคนใหม่

และไม่ต้องแปลกใจว่า วัฒนธรรมนี้ต้องถูกใช้เพื่อการคัดเลือกคนเข้าองค์กร

ข้อแนะนำสำหรับท่านผู้อ่าน

แนะให้ท่านอ่านบทความเพื่อทำ ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องวัฒนธรรมสำหรับISO  ดีๆเสียก่อน

แล้ว นับ 1 - 2 - 3  หายใจอีกหนึ่งที

เพื่อเริ่มทำ

ท่านเพียงทำตาม 3 ขั้นตอน นอนมา นี้

เพื่อจัดทำ แผนการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร ให้กับองค์กรท่าน

 ท่านจะสำเร็จ ไม่มีผู้ตรวจประเมินคนไหนจะมาหยามหมิ่นท่านได้

 

กระซิบบอก

หากท่านทำเรื่องให้นี้ให้ดี   

เจ้านายใหญ่ จะรัก จะหลง แบบหัวปักหัวปำ.....
เชื่อผม เชื่อผม .......

 

bsi. โมเดล

ขั้นตอนที่ 1 :  กำหนดพฤติกรรมที่ต้องการจากตารางที่ 1

ในทางปฏิบัติ 

1 ให้ท่านทำการสำรวจ พูดคุยเพื่อหา วัฒนธรรมที่มีอยู่ ในการสนับสนุนการบรรลุ เป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือไม่

เป็นการดูรากเหง้าของคนในองค์กรตน ผ่านการพูดคุย ทำการหาว่า พฤติกรรมไหนที่ คนในองค์กรทำเป็นประจำ แล้วพฤติกรรมอะไรที่เป็นที่น่าภูมิใจของฝ่าย แผนก พฤติกรรมอะไรที่ชอบขององค์กร พฤติกรรมใดที่เป็นจุดแข็งเดิม ไม่ว่าในการทำงานภาวะปกติหรือในภาวะวิกฤติ  

2. ทำร่างกำหนดวัฒนธรรมที่ต้องการ  ที่สนับสนุน วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว โดย list ออกมาให้ชัดเจน ว่าอะไรใช่หรืออะไรไม่ใช่

วัฒนธรรมที่ต้องการ หมายถึงอะไรในองค์กรคุณ พฤติกรรมทีพึงประสงค์
Trust ความเชื่อถือ,ความไว้วางใจ,ความมั่นใจ,ความหวัง,สิ่งที่ไว้ใจได้,บุคคลที่ไว้ใจได้ ที่ซึ่ง xxxxxxx  xxxx
   xxxxxx  
 มุ่งมั่นต่อเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์  xxxxxx  xxxx
     
     

 

3 ให้ผู้บริหารระดับสูงเห็นชอบ

 

ข้อควรระวัง

การที่ให้ผู้บริหารห้าคนสิบคนคิดเองเออเองออกมา หรือไปลอกใครมา 

ทำระบบท๊อปดาวน์ ก็อาจไม่เหมาะสม  เพราะพนักงานทั่วไปอาจมองว่าเป็นปาหี่

และไม่เหมาะสมกับสภาพจริง

ซึ่งจะทำให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่สำเร็จ

ควรมีกี่ข้อ

ไม่รู้ว่าเท่าไหร่ดี แต่ยิ่งน้อยยิ่งดี

การ list จากผู้บริหารระดับข้างล่างขึ้นมา แล้วให้ผู้บริหารเลือกกำหนด

และสำคัญสุดคือต้องยึดเป้าหมายทางธุรกิจเป็นหลักในการกำหนดพฤติกรรมนี้

ขั้นตอนที่ 2 : ปรับระบบการบริหารเพื่อให้พนักงานมีพฤติกรรมตามที่กำหนด

เลือกมาตรการที่สามารถนำมาใช้ได้ จากตารางที่ 2 เพื่อปรับพฤติกรรมที่ตอ้งการ 

ให้พูดคุย ปรึกษาหารือ องค์ประกอบของระบบการจัดการที่ต้องเปลี่ยนนี้ในที่ประชุมของผู้จัดการ ไม่ว่าจะเป็นรอบไหนก็ตาม ( Monthly / weekly / .... meeting)
ห้าม MR จุดธูปเทียน คิดเอง เขียนมาเอง  ท่านต้องได้ความเห็น จากผู้จัดการในการปรับระบบการจัดการ เหตุผลคือเพื่อให้ผู้จัดการหลักๆ รู้ที่มาที่ไป  และรู้เหตุผลของการปรับเปลี่ยน 

เทคนิค ชั้นตอนการทำ

ทำอย่างไรให้ต่อเนื่องอยู่ยืน

ต้องทำให้เป็นส่วนหนึ่งการประเมินผลเงินเดือน ให้สะท้อนจากการแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ เป็นจิติพิสัยแบบหนึ่ง ซึ่งหมายถึงว่าไม่ใช่สนใจเพียง performance แต่ให้นำ พฤติกรรม มาเป็นเกณฑ์ประกอบด้วย

เมื่อจะโปรโมทคน อย่ามองแค่ performance ต้องดูเรืองการแสดงพฤติกรรมเช่นกัน

การคัดเลือกคนนอกเข้ามา ต้องเลือกจากพฤติกรรมที่กำหนด

ทำการสื่อสารตลอดเวลา โดย ผู้บริหารระดับสูง  ไม่ว่า สื่อสารภายนอก หรือสื่อสารภายใน

 

ขั้นตอนที่ 3 : เขียน action plan ในหน้าตา ที่ชอบที่ชอบ ของท่าน

 

สุดท้าย อย่าลืม

ท่านต้องจำไว้ว่า

การสร้างวัฒนธรรม เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้คน

เป็นการเปลี่ยนนิสัยคน ทั้งองค์กร

ซึ่งต้องใช้เวลา ในการดัดนิสัย 

 

เมื่อเปลี่ยนพฤติกรรมไปนานๆ

จะเป็นนิสัย และนิสัยนี้จะส่งต่อรุ่นต่อรุ่น จนกลายเป็นวัฒนธรรม

และ .........

 

บางนิสัย บางพฤติกรรม

อาจต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปี ............

ทำไมต้อง 3 ปี .... เพราะผมติดนิสัยชอบเลข สาม นะสิ ! 

 

จริงๆ หมายถึงพอผ่านไป 3 ปี  แต่ละปี จะมีคนเข้าและคนออก (และมีให้ออก)   

น้ำดี น้้ำเสีย จะค่อยๆไล่กัน กลืนกินกัน 

วัฒนธรรมกินได้ และสามารถโดนกลืนกิน 

 

อึกอย่าง

ใน 1 ปี ไม่ควรดัด ทีเดียว หลายๆนิสัย .....

เพราะท่านจะเมื่อย เกิดการอ่อนล้า(ใจ) และทิ้งกลางทาง

เจ้านายก็ลืม และ ขาดการแสดงผลลัพธ์จากการเปลี่ยนนิสัย

เป็นไปได้ ทำทีละหนึ่ง ก็บุญแล้ว  

แต่หากโลภมาก ก็ห้ามเกิน สาม 

 

จำได้ไหม

ค่านิยม 12 ประการของบางประเทศ 

ขึงขัง บ่นเรื่อยเปื่อย

แล้ววันนี้ ได้ค่านิยมที่นิยมกันกี่ประการ

แต่หากท่าน  อยากเป็น มนุษย์ลุง

หรือ อยากให้บริษัทท่าน เหมือนประเทศนั้น

ก็ตามสบาย ครับ .................


ตารางที่ 1 รายการพฤติกรรม

ตารางที่ 2 รายการเครื่องมือเพื่อใช้ในการพัฒนา ชี้นำ และสนับสนุนวัฒนธรรม(พฤติกรรม)ในองค์กรที่ต้องการ

หัวข้อที่ต้อง จัดทำ(หรือปรับปรุง) เพื่อให้ได้พฤติกรรมที่กำหนด

ใช่ / ไม่ใช่

ผู้รับผิดชอบ

กำหนดแล้วเสร็จ

งบประมาณ/แผนรายละเอียด

นโยบาย

ใช่

คุณเก่ง

DD MM YY

 

บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที ขององค์กร

ใช่

คุณสุดหล่อ

   

สร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

ใช่

คุณแสนสวย

   

สร้างการมีส่วนร่วมจากการขอความเห็นจากพนักงาน

ใช่

     

KPI และ การรายงานประจำเดือน

ใช่

     

ทำโครงการ แคมเปญ / event

ใช่

     

การอบรม

ใช่

     

การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ โดย บอร์ดสื่อสาร โปสเตอร์

ใช่

     

กฏระเบียบในการทำงาน

ไม่ใช่

     

ระบบข้อเสนอแนะ

ไม่ใช่

     

การประเมินผลเพื่อขึ้นเงินเดือน

ไม่ใช่

     

การให้รางวัล การยอมรับ แล การรับรอง

ไม่ใช่

     

การกำหนดบุคคลตัวอย่างประจำเดือน / ประจำสาขา / ส่วนงาน

ไม่ใช่

     
         

 

รูปที่ 1 ตัวอย่าง หน้าตา action plan พิมพ์นิยม ( มาจาก google  และตัวอย่างไม่เกี่ยวกับบทความ วัฒนธรรมแต่อย่างใด)

08 faisalabad flowchart

 อ่านเพิ่มเติม : ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องวัฒนธรรม สำหรับ ISO

 -END-

 ตัวอย่าง พฤติกรรมขององค์กร (ก็อปมาจาก google) ลอกอย่างนี้มาใส่ในนโยบาย หรือ motto หรือ core value หรือ .....
แล้วก็ลุยออกแบบระบบการจัดการ แค่นี้ครับ

culture builder