iso45001 4 1

 

4.1       การเข้าใจองค์กร และบริบทขององค์กร

องค์กรต้องพิจารณาประเด็นภายนอกและภายในที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์(purpose) และที่ส่งผลต่อความสามารถขององค์กรในการบรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้ในระบบบริหารOH&S

 

ข้อสังเกต

 มาตรฐาน 45001 ไม่ได้ต้องการกระบวนการอย่างเป็นทางการ หรือข้อมูลที่เป็นเอกสารเฉพาะแต่อย่างใด (เช่น ลายลักษณ์อักษรหรือ บันทึกอิเล็กทรอนิกส์ของสิ่งที่ได้ทำหรือ บันทึกข้อสรุป) เพื่อแสดงให้เห็นว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องรับการพิจารณาแล้วให้กับผู้ตรวจประเมินดู ซึ่งต้องแล้วแต่ แต่ละองค์กรกำหนดเอง

เจตนารมณ์ของมาตรานี้คือเพื่อให้องค์กรสามารถได้เข้าใจปัญหาต่าง ๆ ทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่องค์กรต้องพิจารณาเพื่อการจัดทำหรือปรับปรุงระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขององค์กร

ความเข้าใจบริบทขององค์กรใช้เพื่อจัดตั้ง ดำเนินการ รักษา และปรับปรุงต่อเนื่องในระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(ดูที่ข้อ 4.4) โดยเฉพาะในการตั้งนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(ดูที่ข้อ 5.2) และการตั้งวัตถุประสงค์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ดูที่ข้อ 6.2.1)

ประเด็นภายในและภายนอกที่กำหนดในข้อ 4.1 สามารถส่งผลในด้านความเสี่ยงและโอกาสต่อองค์กร หรือต่อระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(ดูที่ข้อ 6.1.1 ถึง 6.1.3) องค์กรจะกำหนดสิ่งที่ต้องค้นหาและบริหารจัดการ (ดูที่ข้อ 6.1.4, 6.2 มาตรา 7 มาตรา 8 และ 9.1)

ทำไมต้องกำหนดประเด็นก่อนวางระบบ

ตอบง่ายๆ ว่า จะได้ไม่วางระบบกันแบบมั่วๆ ลอกกันไปลอกกันมา มีระบบแต่ใช้ไม่ได้ไม่เหมาะกับองค์กร จะได้มีที่มาที่ไปในการวางระบบ ทำให้ได้ระบบที่เหมาะสมกับองค์กร และเป็นระบบที่คนทั้งองค์กรเอาด้วย ไม่ว่าคนงานหรือคนตัวสูงงงงงงงง

 ดังนั้น เพื่อการจัดการระบบ OHS อย่างมีประสิทธิผล องค์กรควรเริ่มจากการพิจารณาบริบทภายในและภายนอกก่อนวางระบบ

ประเด็นนอก ประเด็นใน ต่างกันอย่างไร

ประเด็นภายนอกเป็นประเด็นปัจจัยจากภายนอก คือ ไปควบคุมไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ เช่นกฎหมายที่จะออกมาใหม่ หรือ คู่แข่ง จึงทำได้เพียงให้รู้และหาทางอยู่ ซึ่งต่างจากประเด็นภายในเป็นประเด็นปัจจัยจากภายใน แปลว่าจัดการเองได้ แก้ไขได้ เปลี่ยนแปลงได้ เป็นต้น แต่ท่านไม่ต้องกังวล ตราบใดที่เป็นประเด็นปัจจัย ไม่ว่านอกว่าใน ท่านก็ต้องพิจารณาอยู่ดี หนีไม่ได้ เพราะมาตรฐานเขียนไว้คู่กันตลอด

ดังนั้น ช่างเถอะว่าจะนอกว่าจะใน ขอให้เป็นประเด็นปัจจัย เราสนใจ

ประเด็นภายในที่น่าสน ต่อ การจัดการ OHS อาจรวมถึง

  • ประเภทของกิจกรรมที่ดำเนินการ (เช่น การสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นอันตราย ทางกายภาพ หรือสารชีวภาพ )
  • วิธีการทำงาน และ วิธีการว่าจ้าง (เช่น ลักษณะการเปลี่ยนแปลงขององค์กรเงื่อนไขสัญญา , การยศาสตร์);
  • ลักษณะแรงงาน (เช่นจำนวน ประสบการณ์ อายุของแรงงาน ความหลากหลาย) และ
  • ตำแหน่งที่ตั้ง (เช่นสถานที่ที่ดำเนินกิจกรรมขึ้น ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมต่างๆเช่น อุณหภูมิ หรือการระบายอากาศ)
  • ทรัพยากรที่มี ความรู้ ความสามารถ ความพร้อม
  • ระดับการสอดคล้อง กฏหมาย
  • สภาพเครื่องจักร
  • สภาพทางการเงิน
  • การขยายกิจการ การมี โมเดลการผลิตใหม่ๆ

ประเด็นภายนอกที่น่าสน อาจรวมถึง

  • ข้อกำหนดกฎหมายและกฏระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ
  • ข้อกำหนดด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
  • ข้อกำหนดอื่น ๆ ที่ซึ่งองค์กรเป็นสมาชิก
  • การมีเทคโนโลยีใหม่ หรือ วัสดุใหม่
  • คู่แข่ง ความสามารถในการแข่งขัน ความต้องการลูกค้า
  • ปัจจัยทางสังคม ชุมชน

 ประเด็นจากบริบทนี้ จะแตกต่างกันตามขนาดและ/หรือความซับซ้อนขององค์กร เช่นองค์กรขนาดใหญ่สามารถมีสถานที่ทำงาน มีแผนกและกิจกรรมที่แตกต่างกัน และรวมถึงกระบวนการที่ซับซ้อนนี้ ซึ่งต่างจากบริษัทที่มีพนักงานจำนวนน้อย กระบวนการน้อย ระบบการจัดการจะแตกต่างกัน

ลักษณะขององค์กร เช่นกันที่มีผล เช่นผู้ผลิตสารเคมีห้าคนสามารถมีประเด็ฯปัญหาที่ซับซ้อนและใช้กระบวนการหลายอย่าง ในขณะที่โรงงานขนาดใหญ่ผลิตผลิตภัณฑ์เดียวอาจทำได้ง่ายกว่า

แค่ไหนเรียก พิจารณาประเด็นได้ครบ

มาตรฐานISO45001 กำหนดว่า [องค์กรต้องพิจารณาประเด็นภายนอกและภายในที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์(purpose)]

หมายความว่า การพิจารณาประเด็นภายนอก ภายใน จะมาก จะน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน ISO45001 หรือผู้ตรวจประเมินแต่อย่างใด การกำหนดประเด็นครบไม่ครบ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์องค์กร   ดังนั้นก่อนพิจารณาประเด็นภายนอกภายใน ต้องมีการระบุ จุดประสงค์องค์กรเสียก่อน

จุดประสงค์องค์กร(Purpose) เป็น สิ่งที่องค์กรคาดหวังและต้องการในการดาเนินงานในปัจจุบันและอนาคต การบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรได้จะต้องมีสิ่งสนับสนุนที่สอดคล้องได้แก่การ มีวิสัยทัศน์และสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Vision and share vision) การกำหนดพันธกิจ (Mission)ที่ครอบคลุมเหมาะสม การกำหนดเป้าประสงค์ (Goals) ที่ชัดเจนในแง่ของปริมาณหรือพื้นที่ปฏิบัติการหรือการสร้างคุณค่าแก่องค์กรและการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กร (Objective) ในแต่ละห้วงเวลาของการปฏิบัติการตามแผนกลยุทธ์

จุดประสงค์ (Purpose) หมายถึงสิ่งที่องค์กรมุ่งหมาย เป็นสิ่งที่องค์กรต้องการในอนาคต ซึ่งมักถูกเรียกขื่ออย่างเป็นทางการว่า

  • วิสัยทัศน์ (Vision)
  • พันธกิจ (Mission)
  • เป้าหมายหรือเป้าประสงค์ทางธุรกิจ (Goals)
  • แผนสามปี แผนห้าปี
  • สิ่งที่เจ้านายใหญ่สั่ง (เอาจริง)

หลังจากที่ได้ จุดประสงค์(Purpose) ข้างต้น แล้ว จึงคิดถึงประเด็นหรือปัจจัยในการทำให้สำเร็จได้

 

มาตรฐานISO45001 กำหนดว่า [องค์กรต้องพิจารณาประเด็นภายนอกและภายในที่ส่งผลต่อความสามารถขององค์กรในการบรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้ในระบบบริหารOH&S]

จุดประสงค์ของระบบบริหารOHS คือการให้กรอบการทำงานเพื่อบริหารความเสี่ยงและโอกาสด้าน OH&S

ผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้ระบบ OHS ในภาพกว้างทั่วไป คือการป้องกันการ เสียชีวิต การบาดเจ็บ จากการทำงาน และการเจ็บป่วยให้คนทำงาน การปรับปรุงและให้สถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและมีและสถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน สำหรับคนทำงานและบุคลากรอื่น ๆ ภายใต้การควบคุมขององค์กร แต่ไม่ว่าอย่างไรการกำหนดผลลัพธ์ที่ตั้งใจเป็นเรื่องของแต่ละองค์กรที่กำหนดในแต่ละช่วงเวลา ว่าต้องการอะไรจากระบบบริหาร OHS

ทั้งนี้ กิจกรรมต่าง ๆขององค์กรก่อให้เกิดความเสี่ยง ต่อการเสียชีวิต การบาดเจ็บจากการทำงานและการเจ็บป่วย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างสูงสำหรับองค์กรในการขจัดหรือลดความเสี่ยงต่ออาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้วยการใช้มาตรการป้องกันและปกป้องที่มีประสิทธิผล เมื่อองค์กรประยุกต์ใช้มาตรการเหล่านี้ผ่านระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(ที่สนับสนุนด้วยการใช้การควบคุม วิธีและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับทุกระดับชั้นขององค์กร) มาตรการเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงสมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยโดยจะมีประสิทธิผลมากขึ้นในการลงมือปฏิบัติช่วงแรกเริ่มเมื่อค้นหาโอกาสที่เป็นไปได้สำหรับการปรับปรุงสมรรถนะภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย.

ดังนั้น ท่านจึงต้องกำหนด ผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้ในระบบบริหารOH&S ไว้ให้รู้กันทั่วไปกันในองค์กรท่านเสียก่อน ตัวอย่างเช่น

  • ปรับปรุงสมรรถนะด้านOHS ในด้าน xxxxxx
  • พัฒนาผู้ส่งมอบให้สามารถ xxxxx
  • ต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมายขั้นต่ำ
  • ให้พนักงานมีความตระหนักถึงอันตรายและความเสี่ยงด้าน OHS
  • ปรับปรุงสถานประกอบการให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
  • การสร้างและการพัฒนาขีดความสามารถที่จำเป็นในด้าน OHS
  • ลดความเสี่ยงและขจัดความเสี่ยงระดับปานกลางให้เหลือศูนย์
  • ต้องไม่มีการบาดเจ็บจากกรณีxxxxxxx
  • ให้มีการพัฒนา SOP ที่ครอบคลุมอันตรายและความเสี่ยงทั้งหมด

 

table issue

 

 

แล้วจะศึกษา หาประเด็น ได้ที่ไหนอย่างไรบ้าง

การพิจารณาประเด็น เป็นการศึกษาเรียนรู้เพื่อให้ได้ประเด็น เพื่อการวางระบบบริหาร

เทคนิคที่ใช้ได้ คือ ทำการทบทวนสถานะเริ่มต้น

 

สิ่งที่ต้องทำเพื่อเสาะหาประเด็น มีอยู่ 2 กิจกรรมที่คุณต้องทำ

1. ทบทวนเบื้องต้น

ข้อมูลที่จำเป็น

  1. พบปะเพื่อประชุมหารือกับผู้บริหาร รวมถึงพนักงาน เกี่ยวกับ องค์กร กิจกรรม ผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันและอนาคต
  2. รายละเอียด กิจกรรม ผลิตภัณฑ์ บริการ
  3. ข้อมูลเกี่ยวข้องกับลูกค้าและผู้ส่งมอบ
  4. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย
  5. ข้อมูลเกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน OHS` 
  6. ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการสอดคล้องข้อกำหนดกฏหมาย

ใช้ข้อมูลที่ได้มาเพื่อ

กำหนดว่าผู้มีส่วนได้เสียมีใครบ้าง และ มุมมองของแต่ละฝ่าย

ระบุความต้องการและความคาดหวังชองผู้มีส่วนได้เสียจากข้อมูลที่ได้มา

ทำการทบทวนประเด็นภายนอก ภายในที่ได้มา

 

2. การทบทวนสถานะเริ่มต้น เพื่อหา baseline 

1.ทบทวนข้อกำหนดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับOHS

  • รวบรวมข้อกำหนดตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆด้านOHSที่องค์กรต้องปฏิบัติตาม
  • ตรวจสอบว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆด้านOHSที่ องค์กรต้องปฏิบัติตามอย่างครบถ้วนและถูกต้อง
  1. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งจะนำไปใช้ในการจัดการOHS
  • มีทรัพยากรอย่างเพียงพอและสามารถใช้ให้เกิดผลอย่างเต็มที่ หรือไม่ อย่างไร
  • บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการดำเนินระบบการจัดการOHS เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ หรือไม่อย่างไร
  • มีการกำหนดแผนงานประจำปีและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในแผนงานนั้นหรือไม่อย่างไร
  1. แนวทางการดำเนินงานด้านOHSที่มีอยู่ในองค์กร
  • ตรวจสอบมาตรการต่างๆ ด้านOHSที่มีอยู่ เช่น การใช้สารเคมีที่มีอันตรายน้อยแทนสารเคมี ที่มีอันตรายมาก การเตรียมความพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉิน นโยบายด้านOHS เป็นต้น
  • ตรวจสอบว่ามาตรการต่างๆ มีการจัดทำเป็นเอกสาร ซึ่งรวมถึงเอกสารขั้นตอนการ ดำเนินงาน เอกสารการปฏิบัติงานหรือคู่มือการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น
  • ตรวจสอบว่ามีการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ด้านOHSที่มีอยู่ในองค์กร
  • ประวัติการเกิดอุบัติการณ์ต่างๆ ของสถานประกอบการ
  • สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีนัยยะ
  1. ข้อปฏิบัติและการดำเนินงานที่ดีกว่าซึ่งองค์กรหรือหน่วยงานอื่นได้จัดทำเอาไว้ (best practice)
  • หาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่เป็นข้อปฏิบัติและดำเนินการด้านOHSที่ดีกว่าซึ่งองค์กรหรือ หน่วยงานอื่นได้จัดทำไว้ (best practice) เช่น ข้อมูลจากสถานประกอบการที่ได้รับรางวัล สถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นต้น
  • นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาและปรับใช้ให้เหมาะสมกับขนาดและกิจกรรมขององค์กรได้หรือไม่

แหล่งสนับสนุนและแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น

  • หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและการให้การอนุญาต
  • ห้องสมุด
  • สถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม นายจ้าง และลูกจ้าง
  • องค์กรอื่นสำหรับการแลกเปลี่ยนข่าวสาร

แล้วทำการทบทวนเบื้องต้นอย่างไร

  • การสำรวจ เช่น เดินสำรวจ หรือ การสำรวจโดยวิธีการสัมภาษณ์
  • การตรวจตรา เช่น ตรวจตราโดยใช้แบบตรวจ (checklist)
  • การประเมิน เช่น ประเมินข้อมูลที่ได้ทั้งจากภายในและภายนอก
  • การทบทวน เช่น ทบทวนบันทึกหรือรายงานการปฏิบัติงาน
  • การเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบการดำเนินงานด้านOHSกับองค์กรประเภทเดียวกัน

TRICK

หากท่านสังเกต ท่านจะเห็นว่า ประเด็นไม่ต่างจากคำแก้ตัวเมื่อระบบไม่ตอบโจทย์ คนดีอย่างท่านจึงต้องคิดถึงคำแก้ตัวไว้ก่อน ว่าหากจุดประสงค์(propose)และผลลัพธ์ที่ตั้งใจของระบบบริหาร OHS ไม่บรรลุผล ท่านจะแก้ตัวอย่างไร แล้วนำคำแก้ตัวที่ได้เรียนรู้นี้ไปวางระบบการบริหาร

นิยาม

NA

-END-